ปัสสาวะ (Urine) คือ ของเหลวจากร่างกายที่ผ่านการกรองจากไต
เพื่อกำจัดออกจากร่างกาย โดยการขับถ่ายผ่านระบบทางเดินปัสสาวะ
ปัสสาวะบ่งบอกถึงระบบการทำงานของร่างกายได้ และสามารถสังเกตได้ตั้งแต่ลักษณะทางกายภาพ
เช่น สี กลิ่น ความขุ่น-ใส หรือสามารถตรวจหาสารเคมีและสารเจือปนในปัสสาวะได้
การตรวจปัสสาวะเป็นการตรวจให้ทราบในเบื้องต้นถึงโรคของอวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะ ไต กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ และยังสามารถตรวจโรคเบาหวาน ภาวะการตั้งครรภ์ การเสพสารเสพติดได้อีกด้วย
สารที่สามารถตรวจวิเคราะห์ทางเคมีได้ เช่น
ความเป็นกรด-ด่าง (pH) คือ ความสมดุลของปัสสาวะ ที่ขึ้นอยู่กับสภาพการทำงานภายในร่างกายและพฤติกรรมการบริโภคสารอาหาร
ความถ่วงจำเพาะ (SG) คือ มวลความหนาแน่นของน้ำปัสสาวะ
โปรตีน (Protein) คือ การตรวจโปรตีนในปัสสาวะที่รั่วไหลจากการคัดกรองของไตมากน้อยแค่ไหน
กลูโคส (Glucose) คือ การตรวจกลูโคสในปัสสาวะที่รั่วไหลจากน้ำตาลในกระแสเลือดที่มากเกินไป
คีโตน (Ketones) คือ การตรวจปริมาตรค่าคีโตนในปัสสาวะที่เกิดจากน้ำตาลไม่สามารถแปลงเปลี่ยนเป็นพลังงานต่อร่างกายได้ ทำให้ไขมันแปลงเปลี่ยนเป็นคีโตนในการให้พลังงานแทนน้ำตาล
ไนไตรท์ (Nitrites) คือ การตรวจสารติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ กรวยไต กระเพาะปัสสาวะ
บิลิรูบิน (Bilirubin) คือ น้ำดีในปัสสาวะที่ให้สารสีเหลืองในน้ำของเสีย ความเข้มของสีจะเพิ่มมากขึ้น โดยขึ้นอยู่ส่วนของตับมีการอุดตันท่อน้ำดีหรือไม่
ยูโรบิลิโนเจน (Urobilinogen) คือ ภาวะโรคที่เกิดจากเซลล์ตับอักเสบ หรือมีการ อุดตันของทางเดินน้ำดี ในน้ำปัสสาวะ
เม็ดเลือดขาว (Leukocyte) คือ การพบเม็ดเลือดขาวในน้ำปัสสาวะแสดงถึงการอักเสบในทางเดินปัสสาวะ
เม็ดเลือดแดง (Erythrocyte) คือ การตรวจเจอเลือดในปัสสาวะแสดงถึงภาวะบาดเจ็บทางเดินปัสสาวะ หรือการบาดเจ็บของระบบอวัยวะภายในร่างกาย
แบคทีเรีย (Bacteria) ยีสต์ (Yeasts) ปรสิต (Parasites) คือ ภาวะการติดเชื้อของอวัยวะภายในร่างกาย
คาสท์ (Casts) คือ ก้อนตะกอนจากการสะสมของเศษเซลล์ โปรตีน ไขมัน และสารอื่น ๆ ที่มีสถานะเป็นกรด
ผลึก (Crystal) คือ สารเคมีที่รวมกันเป็นก้อนให้เกิดอุดตัน นำไปสู่โรคนิ่วไตได้
โรคหรือภาวะที่พบได้จากการตรวจปัสสาวะ เช่น
ภาวะขาดน้ำ (Dehydration) เกิดจากการดื่มน้ำน้อยเกินไป ทำให้การตรวจสีปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้มและมีความขุ่นสูง
ภาวะการตั้งครรภ์ (Pregnancy) เกิดจากฮอร์โมนเพศหญิงเปลี่ยนไป มดลูกขยายใหญ่ตามการเติบโตของครรภ์ ประจำเดือนหาย ทำให้พฤติกรรมการขับถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) เกิดจากปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดสูง ทำให้ปัสสาวะบ่อย
ภาวะอุดตันในท่อปัสสาวะ (Urethral Obstruction) เกิดจากกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ทำให้ปัสสาวะไม่สุด
โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infections) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียติดในกระเพาะและท่อปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะเป็นสีน้ำตาล แดง และเขียว มีกลิ่นฉุน
โรคเบาหวาน (Diabetes) เกิดจากฮอร์โมนอินซูลินผลิตได้น้อยลง ซึ่งเกิดค่าคีโตนในปัสสาวะสูง ทำให้การตรวจเบาหวานผ่านปัสสาวะมีอัตราการถ่ายบ่อย หิวน้ำมาก ปวดท้อง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ และอาเจียน
โรคไตจากเบาหวาน (Diabetic Kidney Disease) เกิดจากโปรตีนรั่วไหลในน้ำปัสสาวะ ทำให้การถ่ายปัสสาวะเป็นฟองและตกตะกอนเป็นโฟมมัน ๆ
โรคนิ่วไต (Kidney Stones) เกิดจากการตกตะกอนของเกลือแร่ในน้ำปัสสาวะรวมตัวเป็นก้อน ทำให้ถ่ายปัสสาวะไม่สุด
โรคหลอดเลือดอักเสบ (Pharyngitis) เกิดจากการบาดเจ็บของอวัยวะภายในอย่าง ไต ทำให้ถ่ายน้ำปัสสาวะปนเลือด